- หน้าหลัก
- ติดต่อเรา
- คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
การกรอกชื่อคนที่ถูกต้องในระบบทำอย่างไร (ระบบ e-Budget)
สิ่งที่ไม่ควรทำ
- นำข้อความคัดลอกนำมาวางใส่
- ใส่ชื่อที่ไม่มีอยู่ในระบบ
มพ. กค. 01 แบบเชื่อ และ สด แตกต่างกันอย่างไร ? (ระบบ e-Budget)
แบบเชื่อ
- เป็นใบแยกส่วนออกมาไม่มีเกี่ยวข้องกับใบขอใช้งบประมาณโดยสิ้นเชิง
- ในระบบให้ทำในกรณีไม่เกิน 1 แสนบาททั้งนั่น เกินกว่านั่นให้ทำผ่านระบบ EGP ในระบบทำเพียงแค่ ทำใบขอใช้งบประมาณ และ ใบเบิกเพียงเท่านั้น
แบบสด
- เป็นเพียงใบช่วยออก ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดเงิน ใดๆ ทั้งสิ้น
- ยอดเงินทั้งหมดถูกอ้างอิงมาจากใบขอใช้งบประมาณ ในตัวของมันจะไม่มีการผูกผันงบประมาณ
- ไม่สามารถกำหนดราคาต่อชิ้นเองได้ จะคำนวณมาจาก ราคาทั้งหมดหารด้วยจำนวนชิ้น
จะขอแก้ไขชื่อโครงการทำอย่างไร (ระบบ e-Budget)
- ทำบันทึกข้อความ มายังกองแผนงานขอเปลี่ยนชื่อโครงการเรียน ผู้อำนวยการกองแผนงาน
- กองแผนงานรับเอกสสารเสนอไปยังผู้อำนวยการ
- ได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการ เสร็จสิ้นขั้นตอนอนุมัติ พร้อมส่งต่อเรื่องเปลี่ยนชื่อโครงการไปยังกองคลังเพื่อเปลี่ยนในระบบ AX
- ผู้ดูแลระบบ E-budget ทำการเปลี่ยนชื่อโครงการให้ในระบบ E-budget เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน
ทำไมถึงต้องทำรายงานการควบคุมภายใน
เพื่อให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการควบคุมภายในเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2561 ให้หน่วยงานถือปฏิบัติ
การรายงานความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดเร่งด่วน (Super KPI) และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ มีการให้ดำเนินการจัดส่งประจำปีงบประมาณกี่รอบต่อปี และต้องจัดทำเอกสารอย่างไร
การรายงานความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดเร่งด่วนฯ ต้องมีการกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือน และ 12 เดือน โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://plan.up.ac.th หรือที่หัวข้อดาวน์โหลดเอกสาร ชื่อรายงานความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดเร่งด่วน (Super KOI) และแผนปฏิบัติการกองแผนงาน ประจำปีงบประมาณ