คลังความรู้ (KM)

BCG คือ อะไร?

BCG คือ อะไร?

โดย : Apichet Panya / 27 ก.ค. 2565 / เปิดอ่าน 2609 ครั้ง
จากนโยบายของท่านอธิการบดี ในการมุ่งเป้าให้มหาวิทยาลัยพะเยาเป็น Area-Based University ที่ใช้ BCG Model เป็น Platform ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยพะเยาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สู่การบรรลุ SDGs ร่วมกัน หลายคนคงมีคำถามว่า แล้ว BCG คืออะไร มีบทบาทเกี่ยวข้องกับชีวิตชาว ม.พะเยาตรงไหน

BCG ย่อมาจาก BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) คือโมเดลเศรษฐกิจ 3 รูปแบบ แบ่งเป็น

  • Bio Economy เศรษฐกิจชีวภาพ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจเรา จากทรัพยาการที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มุ่งเพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงลดคาร์บอนไดออกไซด์และของเสีย
  • Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน คือ เป็นความพยายามในการยืดอายุการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ยาวนานที่สุด เป็นการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ และลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด
  • Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว เป็นการพัฒนาที่ดูความสมดุลระหว่างการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ โดยมุ่งผลิตแบบช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ปลอดภัยตั้งแต่จุดผลิตไปยังส่งต่อให้ผู้บริโภค
บทบาทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของชาวม.พะเยา อยู่ตรงที่หลายๆโครงการของมหาวิทยาลัยนั้น เป็นทั้ง BCG หรือเกี่ยวโยงกับ BCG ทั้งกระบวนการอย่างบูรณาการ หรือบางโครงการ อาจจะเป็น B หรือ เป็น C หรือเป็น G ผูกพันอยู่อย่างไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างจากโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 ของแต่ละคณะ เช่น

  • Bio Economy โครงการ พัฒนาแหล่งการผลิตลิ้นจี่คุณภาพในจังหวัดพะเยาด้วยมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนของคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตลิ้นจี่คุณภาพ เกรด AA (premium) ที่ปลอดภัย และจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น
  • Circular Economy โครงการบริหารจัดการขยะชุมชนตำบลจุนแบบมีส่วนร่วมด้วยนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมทางสังคมChun Community Waste Management participatory model with scientific innovation and social innovation ของคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งช่วยทำให้คนในชุมชนมีการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรม เกิดรายได้จากขยะเหลือทิ้งในชุมชน
  • Green Economy โครงการพื้นที่การเรียนรู้กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาด้วยนวัตกรรมการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ของชุมชนจังหวัดพะเยา” คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้นวัตกรรมระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์อบแห้งผักตบชวาสำหรับผลิตสินค้าโอทอป มาลดต้นทุนในการผลิต เพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ และลดของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต
ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมยังไง และใครได้รับประโยชน์บ้าง

หัวใจของ BCG คือการก่อให้เกิดรายได้ และลดรายจ่าย BCG จะเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศไทยในอนาคต การผลิตจะอยู่บนฐานของ Area Based ใช้ทรัพยากรที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายในพื้นที่ ใช้ต้นทุนน้อยที่สุด เกิดของเสียจากระบบน้อยที่สุด และเป็นมิตรต่อธรรมชาติมากที่สุด

ข้อมูลข่าว : อัมพิกา อัมพุธ

แท็กที่เกี่ยวข้อง


BCG

SDGs ที่เกี่ยวข้อง


แชร์เนื้อหา

แสดงความคิดเห็น